วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประตูชัยแห่งกรุงปารีส

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


ประตูชัยแห่งกรุงปารีส (Arc de Triomphe)



ประตูชัยฝรั่งเศส (The Arc de Triomphe) เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่กลางจัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (Place Charles de Gaulle) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม จัตุรัสแห่งดวงดาว (Place de l’Étoile) อยู่ทางทิศตะวันตกของชองป์-เซลิเซ่ส์ 
ประตูชัยฝรั่งเศส เมื่อ ปี ค.ศ. 1667 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 ที่ทรงมีพระบัญชาให้สร้างถนนเพื่อเข้าสู่สวน Jardin des Tuileries ที่อยู่ติดกับพระราชวังจนมาถึงรัชสมัยของ นโปเลียน โบนาปาร์ต (นโปเลียนที่ 1) จอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสซึ่งนำกองทัพที่แข็งแกร่งชนะศึกสงครามมากมาย เมื่อนโปเลียน โบนาปาร์ตเดินทางผ่านถนนเส้นนี้ก็ทรงดำริให้สร้าง ประตูชัยเพื่อสดุดีแก่แก่วีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศสกองทัพฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามนโปเลียน จากนั้นจึงมีการเริ่มสร้างประตูชัยขึ้นในปี ค.ศ. 1806 และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1836



  ประตูชัยฝรั่งเศส นี้เป็นส่วนหนึ่งของ"แนวเส้นตรงทางประวัติศาสตร์"(L'Axe historique) ซึ่งเป็นถนนเส้นตรงจากสวนพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ไปยังชานเมืองปารีส ประตูชัยแห่งนี้ออกแบบโดย ฌอง ชาลแกร็งในปี พ.ศ.2349 โดยมียุวชนเปลือยชาวฝรั่งเศสกำลังต่อสู้กับทหารเยอรมัน เต็มไปด้วยเคราและใส่เกราะเป็นสัญลักษณ์เพื่อเป็นการปลุกใจ และเป็นอนุสรณ์สถานจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1




                                                     ภาพประตูชัยฝรั่งเศส ในเวลากลางคืน
ประตูชัยฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงปารีส ได้ถูกมอบหมายให้สร้างในปี พ.ศ. 2349 หลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ได้รับชัยชนะในยุทธการเอาสเตอร์ลิทซ์ กว่าจะวางรากฐานของการก่อสร้างก็ใช้เวลาเกือบ 2 ปีไปแล้ว และในปี พ.ศ. 2353 เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เสด็จกรุงปารีสจากทางทิศตะวันตกพร้อมด้วยเจ้าสาว อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย ประตูชัยฝรั่งเศสก็ถูกสร้างขึ้นด้วยไม้ในแบบจำลองเท่านั้นเอง สถาปนิกฌอง ชาลแกร็งได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2354 ดังนั้นอูยงจึงได้ดูแลงานนี้ต่อมา ในช่วงราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู การก่อสร้างได้หยุดชะงักลงและไปเสร็จสิ้นในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ ในระหว่าง พ.ศ. 2376 - พ.ศ. 2379 โดยสถาปนิกคือกูสต์ ต่อมาคืออูโยต์ ภายใต้การดูแลของหลุยส์-เอเตียนน์ เอริการ์ต เดอ ตูรี (Louis-Étienne Héricart de Thury)


การออกแบบ
การออกแบบของประตูชัยฝรั่งเศสนั้น ฌอง ชาลแกร็งเป็นผู้ออกแบบ ในรูปแบบศิลปะคลาสสิคใหม่ ที่ได้ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ ช่างแกะสลักที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในรูปแกะสลักของประตูชัยฝรั่งเศสด้วย เช่น ฌอง-ปีแอร์ กอร์โตต์ฟรองซัวส์ รูดอองตวน เอเตกซ์เจมส์ ปราดีเยร์และฟิลิปป์ โฌเซฟ อองรี ลาแมร์ รูปแกะสลักที่สำคัญไม่ได้เป็นลวดลายยาวบนกำแพง แต่เป็นรูปแกะสลักลอยตัวที่เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะติดกับตัวประตูชัย
รูปแกะสลัก 4 กลุ่มบริเวณฐานประตูชัยที่สำคัญ ได้แก่: 
1 .Le Départ de 1792 (เรียกว่า La Marseillaise) โดยฟรองซัวส์ รูด 

2. Le Triomphe de 1810 โดยฌอง-ปีแอร์ กอร์โตต์ 
3. La Résistance de 1814 โดยอองตวน เอเตกซ์ 
4. La Paix de 1815 โดยอองตวน เอเตกซ์

อ้างอิง 
อ้างอิงรูปภาพ 


วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Le Mont Saint Michel

 
เกาะแห่งนี้เดิมชื่อ มงตงบ์ (Mont Tombe) ตามตำนานกล่าวว่า นักบุญไมเคิล  
(อัครเทวดามิคาเอล - Michael The archangel) ที่ได้เข้าฝันนักบุญโอแบร์ บิชอปแห่ง
มาฟร็องช์เมื่อปี พ.ศ. 1251 ให้สร้างวิหารเหนือยอดเขาแห่งนี้
 
 
 
 
             มง-แซ็ง-มีแชล (ฝรั่งเศส: Le Mont-Saint-Michel) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดม็องช์ แคว้นบัส-นอร์ม็องดีของประเทศฝรั่งเศส 
ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ภายใต้ชื่อ มง-แซ็ง-มีแชลและอ่าว
 
             ในปีหนึ่งจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมง-แซ็ง-มีแชลกว่า 3 ล้าน 2 แสนคน ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยงยอดนิยมอันดับที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศส รองลงมาจากหอไอเฟลและพระราชวังแวร์ซาย
 
               ตัวเกาะอันเป็นที่ตั้งของวิหารนั้นเป็นหินแกรนิต โดยมีเส้นรอบวงเกาะประมาณ 960 เมตร และสูง 92 เมตร  ถ้าบวกกับความสูงของตัววิหารนั้นแล้วก็จะมีความสูง 155 แมตร บนยอดวิหารเป็นรูปปั้นทองของเทวดามีแชล (ไมเคิล) สร้างโดยเอมานูแอล เฟรมี (Emmanuel Frémiet)
                                                     

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ภาษาที่ใช้ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์


ภาษาที่ใช้ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ภาษาราชการ มี 4 ภาษา คือ

  1. เยอรมัน(ร้อยละ 64) เป็นภาษาที่มีการพูดกว้างขวางที่สุดในประเทศ ทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 19 รัฐใน 26 รัฐ
  2. ฝรั่งเศส (ร้อยละ 19) คนส่วนใหญ่ที่พูดภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้นจะอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศ โดยมี 4 รัฐด้วยกันคือ เจนีวา, ชูรา, นิดวัลเดิน และโว และมีอีก 3 รัฐ (เบิร์น, ฟรีบูร์ก และวาเล) ที่ใช้ทั้งภาษาเยอรมันและฝรั่งเศสในการสื่อสาร
  3. อิตาเลียน (ร้อยละ 8 ) ทางภาคใต้ในรัฐทีชิโน และอีก 4 หมู่บ้านทางใต้ของรัฐเกราบึนเดิน
  4. โรมันช์ (ร้อยละ 1) (Rhaeto-Romanic – ภาษาละตินโบราณ) ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในรัฐเกราบึนเดินซึ่งใช้ภาษาในการสื่อสารมากถึง 3 ภาษา (ภาษาโรมาเนีย, ภาษาเยอรมัน และภาษาอิตาลี) ซึ่งภาษาโรมาเนียนั้นจะคล้ายกับภาษาอิตาเลียนและฝรั่งเศส ซึ่งมีรากฐานของภาษามาจากละติน และยังใช้พูดกันในชนกลุ่มน้อยของมณฑล กริซองส์ (Grisons)
  5. ภาษาอื่นๆ ก็คือ ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องกังวลไปเพราะคนที่นี่ก็พูดภาษาอังกฤษได้ทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชื่อเต็มของทั้ง9รัชกาล

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัยสมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรปรมาธิเบศร โลกเชฎวิสุทธิ์ รัตนมงกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว
 รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันตอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศโลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว
 รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์ สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 
รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณีจักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษสุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลกสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดชอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิตสรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดมบรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
รัชกาลที่ 5 พระบามสมเด็จพระปรมิทรมหาจุฬสลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์วรุฒมพงษ์บรพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษฏ์ ธัญลักษณวิจิตโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรพรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถเปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลกมหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติประสิทธิ์วรยศ มโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์มเหศวรมหินทรามหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติ อาชาวศรัย พุทธาธิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิรวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศ์วิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพวงค์ มหาชโนตมางตประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุดสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศลประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินค รวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธรบรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานทสนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทรประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทรมเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาตอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฏราธิบดินทร์ ประมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 
รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนมหา อานันทมหิดลสกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร(ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ทรงได้รับการสถาปนาพระบรมอัฐิ เฉลิมพระนามเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลอดุลยเดช วิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดมจักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิการรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดมบรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดีพระอัฐมราะบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร
รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร 

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เทศกาลที่น่าสนใจในประเทศฝรั่งเศส


        งานฉลองที่มีสีสันและสนุกสนานตั้งแต่เช้ายันค่ำ จะหมุนเวียนจัดกันไปจัดตามเมืองต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส งานเทศกาลที่จัดกันในปัจจุบันล้วนเป็นมรดกตกทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต หมู่บ้านแต่ละแห่งจะต้องมีงานฉลองของตน และในแต่ละเมืองจะต้องมีเทศกาลของดีของเด่นประจำปีไว้สนุกสนานกันเช่น งานเดินขบวนคนยักษ์ (คนต่อขา) ของทางตอนเหนือของฝรั่งเศส งานคาร์นิวัลเมืองนีซ (Nice) งาน Ferias เมืองนีมส์ (Nîmes) และเมืองอาร์ล (Arles) งานประจำปีเมืองบายอน (Bayonne) หรือเมืองเบซิเยส์ (Béziers) ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นที่รวมความสนุกสนานของชาวเมืองซึ่งยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นให้มาร่วมความบันเทิงด้วยกัน นอกจากงานเทศกาลต่างๆ ในเขตภูมิภาคแล้ว ฝรั่งเศสยังมีงานสำคัญประจำปีระดับชาติอีก 2 งาน ซึ่งทุกเมืองจะเฉลิมฉลองพร้อมๆ กัน งานแรกคืองานวันชาติ 14 กรกฎาคมซึ่งเป็นวันสำคัญที่เปิดตัวด้วยการสวนสนามของทหารเหล่าต่างๆ และจัดขึ้นอย่างใหญ่โตที่ถนนชองส์-เอลิเซ่ส์ (Champs-Elysées) อันเลื่องชื่อของปารีส พอถึงกลางคืนจะมีการจุดดอกไม้ไฟที่สวยงามตระการตา และมีงานเต้นรำที่สนุกสนานแบบฝรั่งเศสแท้ ส่วนตามเมืองใหญ่ๆ มักจัดการแสดงดนตรีกลางแจ้งให้ชมกันโดยไม่ต้องเสียค่าผ่านประตู งานใหญ่งานที่สองคือ เทศกาลดนตรีซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ 21 มิถุนายน เทศกาลนี้เปิดโอกาสให้คนรักดนตรีทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นได้แสดงความสามารถกันเต็มที่และสุดเหวี่ยงในท้องถนนและทุกหนทุกแห่ง นอกจากนี้ยังมีเทศกาลเพลงคลาสสิค ละคร ละครสัตว์ และอื่นๆ อีกมากมายตลอดทั้งปี เพียงเท่านี้คุณก็คงพอรู้แล้วว่าในฝรั่งเศสความสนุกสนานเพลิดเพลินนั้นไม่มีการเว้นวรรคจริงๆ
สำหรับคนนอนไม่หลับ  
 ราตรีที่หวานซึ้งหรือค่ำคืนที่เฮฮาเป็นบรรยากาศที่คุณเลือกได้ในสถานบันเทิงที่มีอยู่มากมายหลายแห่ง ถ้าคุณชอบดื่มสังสรรค์กับเพื่อนๆในบรรยากาศที่เป็นกันเองแล้วล่ะก็ ตามเมืองใหญ่ๆ ของฝรั่งเศสมีบาร์ซึ่งเปิดเพลงทุกสไตล์ให้เลือกตามรสนิยม ทั้งลาติโน แจ๊ซ ไลท์ มิวสิค เว็บ เทคโน หรือแม้แต่เพลงอาหรับ... และถ้าใครยังไม่เหนื่อยอยากไปเต้นรำต่อ ก็ยังมีสถานบันเทิงขนาดยักษ์ที่เปิดเพลงมันๆ หลายสไตล์โดยดีเจจากทั่วโลกให้นักดิ้นเท้าไฟได้สะบัดในทุกท่วงท่าทั้งฮิปฮอป แจ็ซ โซล หรือเพลงแอฟริกัน ส่วนคนที่ชอบลีลาศแบบหรูหรือบอลรูมแบบเก่าย้อนยุค ก็รับรองว่าไม่มีวันผิดหวัง